กุมภาพันธ์ 16, 2022
สาเหตุของเครนถล่มเกิดจากที่ไม่ได้มีการตรวจเครนตามกำหนดที่กฏหมายระบุไว้
เรามักได้ยินกันบ่อยครั้งเกี่ยวกับอุบัติเหตุเครนพังล้มลงมาทับคนงานซึ่งวันนี้จะมาพูดถึงสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุกับเครน พร้อมกับแนวทางการป้องกันที่ได้มาตรฐานและถูกตามกฏหมายประเทศไทย
เครนสามารถแยกได้เป็น 2 ประเภทได้แก่
- เครนชนิดอยู่กับที่ ปจ1
- เครนประเภทเคลื่อนที่ ปจ2
เครนทั้ง 2 ประเภทนี้ตามกฎหมายได้ระบุเอาไว้ว่าผู้ที่ใช้งานจะต้องทำการทดสอบเพื่อให้มั่นใจว่าเครนหรือปั่นจั่นตัวดังกล่าวสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยในการ ในการใช้งานปั้นจั่นผู้ที่ใช้งานจะต้องทราบถึงพิกัดการยกอย่างปลอดภัยว่าเครนตัวดังกล่าวสามารถยกได้ในพิกัดน้ำหนักเท่าไหร่จึงจะเกิดความปลอดภัยใน
การใช้งานเครนผู้ใช้งานหรือเจ้าของเครนจะต้องทำการติดป้ายชี้บ่งว่าเครนสามารถยกได้สูงสุดเท่าไหร่ และ กำหนดให้ผู้ใช้งานจะต้องไม่ละเมิดระเบียบการทำงานกับปั้นจั่นโดยเด็ดขาดสิ่งเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้ การยกน้ำหนักเกินที่กำหนดอาจส่งผลให้สลิงขาด หรือ อุปกรณ์การช่วยยกของเครนเกิดชำรุดกระทันหันได้เนื่องจากการทดสอบเครนโดยวิศวกรเครื่องกลได้ทำการทดสอบการยกโดยทดสอบการยกจริง และ ระบุกำหนดให้ยกได้ตามที่ทดสอบหากยกเกินนั้นจะเกิดอับตรายนั้นเอง
ดังนั้นเราควรจึงใช้งานเครนตามที่ระบุในใบรับรอง ปจ.1 ปจ.2 อย่างเคร่งครัด อีกปัจจัยหนึ่งที่มักพบจากการเกิดอุบัติเหตุในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นมักพบว่าเครนมีสภาพใช้งานมานาน และ ไม่ได้มีการตรวจสอบตามที่กฎหมายกำหนดทำให้อุปกรณ์ต่างๆนั้นไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัย สิ่งเหล่านี้นายจ้างควรจะต้องจัดให้มีการตรวจสอบตามความถี่ที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับวันจันทร์และตัวผู้ปฏิบัติงานเอง
“ปั้นจั่น” หมายความว่า เครื่องจักรที่ใช้ยกสิ่งของขึ้นลงตามแนวดิ่ง และเคลื่อนย้ายสิ่งของเหล่านั้นในลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบ
“ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่” หมายความว่า ปั้นจั่นที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ควบคุม และเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว ซึ่งติดตั้งอยู่บนหอสูง ขาตั้ง หรือบนล้อเลื่อน
“ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่” หมายความว่า ปั้นจั่นที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ควบคุม และเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว ซึ่งติดอยู่บนยานพาหนะที่ขับเคลื่อนได้
วิศวกรต้องทดสอบการรับน้ำหนักของปั้นจั่น ตามอายุการใช้งาน
1.ปั้นจั่นใหม่
- ขนาดไม่เกิน 20 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1 เท่า แต่ไม่เกิน 1.25 เท่า
- ขนาดมากกว่า 20 ตัน แต่ไม่เกิน 50 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักเพิ่มอีก 5 ตันจากพิกัดยกอย่างปลอดภัย
2.ปั้นจั่นที่ใช้งานแล้ว
- ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1.25 เท่าของน้ำหนักที่ใช้งานจริงสูงสุด โดยไม่เกินพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด
- กรณีที่ปั้นจั่นไม่มีพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยกในการทดสอบ
สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ปจ.1 ปจ.2 ได้ฟรีอีกด้วย
หากใครสนใจตรวจเครน ตรวจปั้นจั่น ทดสอบเครน สามารถสอบถามได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเราพร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการตรวจเครนที่ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อใฟ้ลูกค้าสามารถใช้งานปั้นจั่นได้อย่างปลอดภัยหายห่วง เราได้รับการยอมรับในการตรวจเครนจากลูกค้ามากมาย และมีมาตรฐานการทำงานตาม ISO 9001