บริการตรวจสอบระบบ Fire alarm system.
ตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
บริการตรวจ เช็ค ระบบ ไฟ อ ลามโดยวิศวกรมืออาชีพตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้พร้อมออกรายงานรับรอง พร้อมข้อเสนอแนะปัญหาและแนวทางการปรับปรุงแก้ไขระบบ Fire alarm ให้สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย.
ตรวจสอบตู้ควบคุมสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm Control Panel)
ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้มีความสำคัญควรทำการตรวจสอบให้มั่นใจว่ายังสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ.
ความสำคัญของการตรวจสอบ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
ประโยชน์ในการตรวจสอบระบบ fire alarm จะช่วยให้เราได้รู้ถึงประสิทธิภาพของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้รวมไปถึงอุปกรณ์ที่ใช้ส่งสัญญาณไปยังตู้ควบคุม
การตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้เบื้องต้น
อาจมีบางครั้งที่สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ดังขึ้น เนื่องจากความผิดพลาดของระบบ เช่น สายไฟหลวม อุปกรณ์ชำรุด ทำให้ระบบส่งเสียงเตือนออกมา หรือเมื่อมีเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้นจริง แต่ระบบกลับไม่ทำงาน ทำให้ไม่สามารถแจ้งเตือนได้ ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน จึงมีความจำเป็นต้องตรวจสอบการทำงานของระบบแบบเต็มรูปแบบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้ระบบสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการตรวจสอบการทำงานของระบบนั้น ต้องตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ ที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้อย่างถูกต้อง และระบบสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การตรวจสอบอุปกรณ์ตรวจจับ เช่น Heat Detector หรือ Smoke detector นั้น ส่วนมากมักจะให้ผู้รับเหมาที่มีความชำนาญในการตรวจสอบ เนื่องจากการติดตั้งมักอยู่บนที่สูง เช่น โครงสร้างอาคาร ทำให้เจ้าของอาคารไม่สามารถตรวจสอบเองได้ แต่หากเป็นสัญญาณแจ้งเหตุด้วยมือ ทางเจ้าของอาคารสามารถตรวจสอบเองได้เบื้องต้น ว่าอุปกรณ์นั้นสามารถส่งเสียงเตือนได้หรือไม่ อาจจะทำการตรวจสอบอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อเป็นการทดสอบด้วยตนเองเบื้องต้น หากพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น จะได้แก้ไขได้ทันก่อนที่ระบบจะไม่สามารถใช้งาน
ตวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องดูอะไรบ้าง
1. ตู้ควบคุมระบบแจ้งเตือนเพลิงไหม้ (Fire Alarm Control Panel) เช่น
- ตู้ควบคุมแบบธรรมดา (Conventional Fire Alarm Control Panel Hardwire)
- ตู้ควบคุมแบบระบุตำแหน่ง (Addressable Fire Alarm Control Panel Multiplex) และ อุปกรณ์โมดูลควบคุมอื่นๆ (Other Modules Device)
2. แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply with Battery Back-up)
- แหล่งจ่ายไฟ แบบมีติดตั้งรวมอยู่ในตู้ควบคุม (Internal)
- แหล่งจ่ายไฟ แบบต่อไว้ห่างจากตู้ควบคุม (External)
- แบตเตอรี่ แบบมีติดตั้งรวมอยู่ในตู้ควบคุม (Internal)
- แบตเตอรี่ แบบต่อไว้ห่างจากตู้ควบคุม (External) ในตู้แหล่งจ่ายไฟ
3. อุปกรณ์กำเนิดสัญญาณเพลิงไหม้ (Signal Initiating Devices)
- อุปกรณ์ตรวจจับควัน แบบธรรมดา (Conventional Smoke Detector) เดินระบบไว้แบบ 2 สาย (Two Wire) หรือเดินระบบไว้แบบ 4 สาย (Four Wire)
- อุปกรณ์ตรวจจับควัน แบบระบุตำแหน่ง (Addressable Smoke Detector)เดินระบบไว้แบบวนกลับ 2 สาย (Two Wire Loop)
- อุปกรณ์ตรวจจับควันด้วยลำแสงบีม แบบธรรมดา (Conventional Beam Smoke)เดินระบบไว้แบบ 4 สาย (Four Wire)
- อุปกรณ์ตรวจจับควันด้วยลำแสงบีม แบบระบุตำแหน่ง (Addressable Beam Smoke)เดินระบบไว้แบบวนกลับ 2 สาย (Two Wire Loop)
- อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ แบบธรรมดา (Conventional Flame Detector)เดินระบบไว้แบบ 4 สาย (Four Wire)
- อุปกรณ์ตรวจจับแก๊ส แบบธรรมดา (Conventional GAS Detector)เดินระบบไว้แบบ 4 สาย (Four Wire)
- อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ แบบธรรมดา (Conventional Manual Station)เดินระบบไว้แบบ 2 สาย (Two Wire)
- อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ แบบระบุตำแหน่ง (Addressable Manual Station)เดินระบบไว้แบบวนกลับ 2 สาย (Two Wire Loop)
4. อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ (Audible Alarm Devices)
- อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยเสียง แบบธรรมดา (Conventional Bell ,Horn ,Sounder)เดินระบบไว้แบบ 2 สาย (Two Wire)
- อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยเสียง แบบระบุตำแหน่ง (Addressable Horn ,Sounder)เดินระบบไว้แบบวนกลับ 2 สาย (Two Wire Loop)
- อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยแสง แบบธรรมดา (Conventional Strobe ,Horn-Strobe)เดินระบบไว้แบบ 2 สาย (Two Wire)
- อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยแสง แบบระบุตำแหน่ง (Addressable Strobe ,Horn-Strobe)เดินระบบไว้แบบวนกลับ 2 สาย (Two Wire Loop)
- อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยเสียงประกาศ (Speaker or Speaker and Strobe)เดินระบบไว้แบบ 2 สาย (Two Wire)
5. อุปกรณ์ประกอบอื่นๆ (Other Devices)
- แผงควบคุมและแสดงผลระยะไกล จากตู้ควบคุมหลัก (Remote Annunciator)
- ตู้แผนผังแสดงตำแหน่งจุดเกิดเหตุเพลิงไหม้ (Graphic Annunciator)
- ชุดระบบโทรศัพท์ติดต่อแจ้งเหตุฉุกเฉิน (Firefighter’s Master Telephone)
- ชุดระบบเสียงประกาศแจ้งเตือนการอพยพ (Audio Voice Evacuation)